ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบ O-Net ข้อ 21-26 ค้าบ ! !



คำอธิบายครับ ^^
สิ่ง มีชีวิตทุกชนิดบนโลกนี้มีลักษณะเหมือนกันประการหนึ่ง คือประกอบด้วยธาตุหลายชนิดมารวมอยู่ด้วยกั่น ธาตุหลักที่พบมากในสิ่งมีชีวิต คือ คาร์บอน (carbon, C) ไฮโดรเจน (hydrogen, H) ออกซิเจน (oxygen, O)ไนโตรเจน (nitrogen, N) ซัลเฟอร์ (sulfer, S) และฟอสฟอรัส (phosphorus, P) ธาตุ ต่าง ๆ เหล่านี้สามารถจะรวมตัวกันหลายรูปแบบ ก่อกำเนิดเป็นโมเลกุลของสิ่งมีชีวิตขึ้น การที่ธาตุต่าง ๆ สามารถรวมอยู่ด้วยกันได้ เพราะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมที่เรียกว่าพันธะโควาเลนต์ (covalent bond) เป็น สำคัญ แต่ก็ยังมีพันธะเคมีอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนทำให้การยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุล และระหว่างโมเลกุลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น พันธะเหล่านี้คือ พันธะไอออนิก (Ionic bond) พันธะไฮโดรเจน (Hydrogen bond) และพันไฮโดรโฟบิก (hydrophobic bond)
พันธะโควาเลนต์เป็นพันธะเคมีที่ไม่แตกสลายง่าย ดังนั้น โมเลกุลเล็ก ๆ หลายชนิดจึงมีความคงทนเป็นพิเศษ และถูกใช้เป็นหน่วยย่อย (monomer)ในการสร้าง โมเลกุลใหญ่ๆ (polymer) โพ ลิเมอร์หนึ่ง ๆ นั้น ปกติจะประกอบด้วยหน่วยย่อยเหมือน ๆ กันเป็นจำนวนมากต่อกันยาวเป็นโซ่ ในการย่อยสลายโพลิเมอร์ลงเป็นหน่วยย่อยเหมือนๆ กันเป็นจำนวนมากต่อกันยาวเป็นโซ่ ในการย่อยสลายโพลิเมอร์ลงเป็นหน่วยย่อยนั้นทำได้ง่ายมากกว่าการสลายหน่วย ย่อยเอง

เราสามารถจำแนกชีวโมเลกุลได้โดยดูที่หมู่ฟังก์ชันของโมเลกุลนั้นเป็นสำคัญ หมู่ฟังก์ชันเหล่านี้ ได้แก่ โมเลกุลใดมีหมู่คาร์บอกซิล ก็จัดเป็นกรด ตัวอย่างเช่น กรดไขมัน จะมีหมู่คาร์บอกซิลและสายคาร์บอน–ไฮโดรเจน หนึ่งสาย หรือกรดอะมิโน ก็มีทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิล อยู่ในโมเลกุลเดียวกัน สำหรับคาร์โบไฮเดรต เช่น มอโนแซ็กคาไรด์ จะมีหมู่อัลดีไฮด์หรือหมู่คีโตน และหมู่ไฮดรอกซิล การศึกษาสมบัติทางเคมีของชีวโมเลกุล ตั้งแต่โมเลกุลหน่วยย่อย เช่น กรดอะมิโน มอโนแซ็กคาไรด์ และลิพิดตามลำดับนั้น เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีวเคมี (biochemistry)

สารชีวโมเลกุล (biomolecule) เป็นสารเคมีที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิต อยู่ในกลุ่มของสารอินทรีย์ มีหลายชนิด ทำหน้าที่ต่างๆ กันในร่างกาย เช่น เป็นองค์ประกอบของอวัยวะต่างๆ ใช้ในการสร้างพลังงาน ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ทำให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ เป็นน้ำย่อย รวมทั้งเป็นสารพันธุกรรม

สาระสำคัญ

1. คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate)

2. โปรตีน (protein)

3. ลิพิด (lipid)

4. กรดนิวคลีอิก (nucleic acid)

ที่มา: http://thaigoodview.com/node/21065

ตอบข้อ: 4 ครับ ^^




คำอธิบายครับ ^^

กรดไขมันอิ่มตัว คือ ไขมันที่เป็นไขมันเต็มตัว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนจับ กันเป็นลูกโซ่โดย สมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใด ๆ ในร่างกาย พบมากในพวกไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย และไข่แดง

กรดไขมันส่วนมากมีจำนวน C อะตอม C12 - C18 ชนิดที่มีจำนวน C อะตอมน้อยกว่า 12 ได้แก่ กรดบิวทาโนอิก C3H7COOH ที่พบในเนย กรดไขมันไม่ละลายน้ำ กรดไขมันจะมีจุดเดือดและจุด หลอมเหลวสูงขึ้นตามจำนวนคาร์บอนอะตอมที่เพิ่มขึ้น และกรดไขมันอิ่มตัวมีจุดเดือดสูงกว่า กรดไขมันไม่อิ่มตัว ที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน ถ้าเป็นกรดไขมันอิ่มตัวมาก จะเป็นไขมัน เช่น กรดลอริก (C12) กรดไมริสติก (C14) กรดปาล์มิติก (C16) กรดสเตียริก (C18)

กรดไขมันอิ่มตัว คือกรดไขมันที่ไม่มีพันธะคู่ (double bond) หรือ หมู่ฟังก์ชัน (functional group) อื่นๆ ตามสายโซ่เลย คำว่าอิ่มตัวหมายถึง ไฮโดรเจนในที่ซึ่งคาร์บอน (ที่เป็นส่วนของคาร์บอกซิลิก แอซิด-COOHกรุ๊ป) มีไฮโดรเจนเกาะอยู่มากที่สุดที่จะเป็นไปได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือที่ปลายโอเมก้าจะมี 3 ไฮโดรเจน (CH3-) และแต่ละคาร์บอนในสายโซ่จะมี 2 ไฮโดรเจน (-CH2-)

ตัวอย่างกรดไขมันอิ่มตัวได้แก่:

กรดบิวทิริก: CH3(CH2)2COOH
กรดลอริก (dodecanoic acid) : CH3(CH2)10COOH
กรดไมริสติก (tetradecanoic acid) : CH3(CH2)12COOH
กรดปาลมิติก (hexadecanoic acid) : CH3(CH2)14COOH
กรดสเตียริก (octadecanoic acid) : CH3(CH2)16COOH
กรดอะราชิดิก (eicosanoic acid) : CH3(CH2)18COOH
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A

ตอบข้อ: 3 ครับ ^^



คำอธิบายครับ ^^

1.การทดสอบแป้ง ทดสอบโดยหยดสารละลายไอโอดีนในอาหาร ถ้าในอาหารมีแป้ง
อยู่จริง สารละลายไอโอดีนจะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็นสีน้ำเงินปนม่วง
2. การทดสอบโปรตีน ทำได้โดยหยดสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตและสารละลายไซเดียม
ไฮดรอกไซด์ลงไปในอาหาร ในอัตราส่วน 1 ต่อ 2 ถ้าในอาหารมีโปรตีนจริงสารละลายจะ
เปลี่ยนจากสีฟ้าไปเป็นสีม่วงอ่อนหรือสีม่วงอมชมพู เรียกการทดสอบโปรตีนด้วยวีนี้ว่า “การ
ทดสอบไบยูเร็ต”
3. การทดสอบไขมัน ทดสอบโดยนำอาหารไปถูกับกระดาษ ถ้าในอาหารมีไขมันอยู่จริง
จะทำให้กระดาษมีลักษณะโปร่งแสง

ที่มา:http://ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_o_ebook/pdf/020/0020_96

ตอบข้อ: 4 ครับ ^^



คำอธิบายครับ ^^

1.การทดสอบแป้ง ทดสอบโดยหยดสารละลายไอโอดีนในอาหาร ถ้าในอาหารมีแป้ง
อยู่จริง สารละลายไอโอดีนจะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็นสีน้ำเงินปนม่วง
2. การทดสอบโปรตีน ทำได้โดยหยดสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตและสารละลายไซเดียม
ไฮดรอกไซด์ลงไปในอาหาร ในอัตราส่วน 1 ต่อ 2 ถ้าในอาหารมีโปรตีนจริงสารละลายจะ
เปลี่ยนจากสีฟ้าไปเป็นสีม่วงอ่อนหรือสีม่วงอมชมพู เรียกการทดสอบโปรตีนด้วยวีนี้ว่า “การ
ทดสอบไบยูเร็ต”
3. การทดสอบไขมัน ทดสอบโดยนำอาหารไปถูกับกระดาษ ถ้าในอาหารมีไขมันอยู่จริง
จะทำให้กระดาษมีลักษณะโปร่งแสง

ที่มา:http://ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_o_ebook/pdf/020/0020_96.pdf

ตอบข้อ: 4 ครับ ^^



คำอธิบายครับ ^^

พันธะเพปไทด์ (peptide bond) คือ พันธะโคเวเลนต์ที่เกิดขึ้นระหว่าง C อะตอมในหมู่คาร์บอกซิล ของกรดอะมิโนโมเลกุลหนึ่ง ยึดกับ N อะตอม ในหมู่อะมิโน (-NH2) ของกรดอะมิโนอีกโมเลกุลหนึ่ง

มีการกำจัดน้ำออก1โมเลกุล ทำให้เกิดพอลิเพปไทด์




สาร ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 โมเลกุล เรียกว่า ไดเพปไทด์
สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 โมเลกุล เรียกว่า ไตรเพปได์
สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนตั้งแต่ 3 โมเลกุลขึ้นไป เรียกว่า พอลิเพปได์
อนึ่ง สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนตั้งแต่ 100 โมเลกุลขึ้นไปเราเรียก พอลิเพปไทด์นี้ว่า โปรตีน

ที่มา:http://thaigoodview.com/node/46066

ตอบข้อ: 3 ครับ @*




คำอธิบายครับ ^^

พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) หรือไกลเคน (Glycan)
พอลิแซ็กคาไรด์เป็นสารประกอบที่ซับซ้อนกว่าคาร์โบไฮเดรตชนิดอื่นพอลิแซ็ก คาไรด์เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยมอนอแซ็กคาไรด์หลายๆโมเลกุลรวมกันโดย การเกิดพันธะระหว่างกันและกัน หรือพอลิแซ็กคาไรด์เกิดจากการรวมตัวของมอนอแซ็กคาไรด์หลายๆโมเลกุล โดยพอลิแซ็กคาไรด์เป็นพอลิเมอร์ ส่วนมอนอแซ็กคาไรด์เป็นมอนอเมอร์ และเรียกปฏิกิริยาที่มอนอเมอร์ (สารโมเลกุลเล็กๆ) รวมตัวกันเป็นพอลิเมอร์ (สารโมเลกุลใหญ่) ว่าปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน แต่ในการรวมตัวของมอนอแซ็กคาไรด์เป็นพอลิแซ็กคาไรด์มีน้ำเกิดขึ้นด้วย ดังนั้น จึงเรียกปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันของการเกิดพอลิแซ็กคาไรด์ว่าปฏิกิริยาพอลิ เมอไรเซชันแบบควบแน่น (Condensation polymerization) พอลิแซ็กคาไรด์ที่รู้จักกันดีได้แก่ แป้ง (Starch) ไกลโคเจน (Glycogen) และเซลูโลส (Cellulose) ซึ่งทั้งแป้ง ไกลโคเจน และเซลลูโลสต่างก็เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากกลูโคส (มอนอเมอร์) หลายๆโมเลกุลมารวมตัวกัน มีสูตรทั่วไปเป็น พอลิแซ็กคาไรด์สามารถจำแนกได้ 2 ประเภทใหญ่ คือ

1. พอลิแซ็กคาไรด์ที่ทำหน้าที่สะสมอาหาร (Storage polysaccharide)
แป้ง (Starch) แป้ง เป็นคาร์โบไฮเดรตที่สะสมอยู่ในพืช พบทั้งในใบ ลำต้น ราก ผล และเมล็ด แป้งประกอบด้วยพอลิแซ็กคาไรด์ 2 ชนิด และทั้งสองชนิดมีหน่วยย่อยเป็นกลูโคสแต่มีมวลโมเลกุลและโครงสร้างต่างกัน พอลิแซ็กคาไรด์ทั้งสองชนิดในแป้ง ได้แก่ อะไมโลส (Amylose) และอะไมโลเพกทิน (Amylopectin) ในแป้งมีอะไมโลสประมาณ10-30%และอะไมโลเพกทินประมาณ70-90% อะไมโลสประกอบด้วยกลูโคส 200 – 1500 โมเลกุล ซึ่งต่อกันเป็นโซ่ยาวแบบไม่มีกิ่งและขดเป็นเกลียวแบบเฮลิกซ์ ส่วนอะไมโลเพกทินมีโครงสร้างต่างจากอะไมโลสคือ นอกจากกลูโคสต่อเป็นโซ่ยาวแล้วยังมีการต่อแบบกิ่งด้วย โดยกลูโคสต่อกันเป็นโซ่ยาว 12 ถึง 25 โมเลกุล จะแตกกิ่งครั้งหนึ่ง และส่วนที่เป็นโซ่กิ่งมีกลูโคสต่อกัน 20 ถึง 25 โมเลกุล อะไมโลเพกทิน ประกอบด้วยกลูโคส 2000 – 200000 โมเลกุล



ไกลโคเจน (Glycogen) หรืออาจเรียก ว่าแป้งในสัตว์ (Animal starch) เป็นพอลิแซ็คาไรด์ที่เกิกจากกลูโคสจำนวนมากมารวมตัวกัน มีโครงสร้างคล้ายอะไมโลเพกทินในแป้ง แต่ขนาดโมเลกุลใหญ่กว่าและมีการแตกกิ่งมากกว่า กล่าวคือ โซ่หลักของอะไมโลเพกทิน มีการแตกกิ่งทุกๆ 12 ถึง 25 โมเลกุลของกลูโคส แต่ในไกลโคเจนจะมีการแตกกิ่งทุกๆ 8 ถึง 10 โมเลกุลของกลูโคส และโซ่กิ่งประกอบด้วยกลูโคส 8 ถึง 12 โมเลกุลต่อกัน

ไกลโคเจนเป็นคาร์โบไฮเดรตสะสมที่พบมากในตับและกล้ามเนื้อของคนและสัตว์ ใช้สำหรับเป็นแหล่งของพลังงาน เพราะเมื่อร่างกายต้องการก็สามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นกลูโคสได้อีก นอกจากนั้นไกลโคเจนในตับยังมีประโยชน์ในการมีไว้เพื่อปรับระดับกลูโคสใน เลือดให้คงที่ ไกลโคเจนที่อยู่ในตับหรือกล้ามเนื้อสามารถแยกออกได้โดยการต้มกับสารละลายเบส แก่ เช่น สารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH)
เดกซเตรน (Dextran) เป็นพอลิแซ็กคาไรด์สะสมในยีสต์และแบคทีเรีย ประกอบด้วยหน่วยย่อยเป็นน้ำตาลกลูโคสเท่านั้นเหมือนกับแป้งและไกลโคเจน แต่ต่างที่กลูโคสต่อกันด้วยพันธะ และมีการแตกกิ่งก้านด้วยพันธะ พันธะ หรือพันธะขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งมีชีวิต
2. พอลิแซ็กคาไรด์โครงสร้าง (Structural polysaccharide)
เซลลูโลส (Cellulose) เป็นโฮโมพอลิแซ็กคาไรด์แบบ linear homopolysacchalide ประกอบด้วยน้ำตาล D กลูโคสที่เชื่อมต่อกันเป็นสายยาวด้วยพันธะไกล โคซิดิก ถ้าไฮโดรไลซ์เซลลูโลสด้วยกรดแก่จะได้ D-กลูโคส แต่ถ้าไฮโดรไลซ์ไม่สมบูรณ์จะได้รีดิวซิงไดแซ็กคาไรด์ คือ เซลโลไบโอส เอนไซม์ไกลโคซิเดส (Glycosidase) ที่พบในทางเดินอาหาร (Digestive tract) ของสัตว์ ที่เลี้ยงลูกด้วยนมที่ไม่สามารถย่อยพันธะไกล โคซิดิกได้ แต่ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ควาย สามารถใช้เซลลูโลสเป็นอาหารได้ เนื่องจากแบคทีเรียในรูเมน (Rumen) สามารถสังเคราะห์เอนไซม์เซลลูเลส (Cellulase) มาย่อยเซลลูโลสได้ D กลูโคส

เซลลูโลสมีน้ำหนักโมเลกุลตั้งแต่ 10-500 kD ประกอบด้วย D กลูโคสประมาณถึง 15,000 หน่วย จากการศึกษาโดยใช้เทคนิค X-ray diffraction โมเลกุลของเซลลูโลสอย่ในลักษณะเป็นเส้นยาวเรียงขนานกัน แต่ละเส้นจะเชื่อมกันด้วยพันธะไฮโดรเจน ทำให้อยู่ร่วมกันเป็นมัด (ประมารตั้งแต่ 40 โมเลกุลของเซลลูโลสขึ้นไป) มีลักษณะเป็นเส้นไยเล็ก เรียกว่า ไฟบริล (Fibril) เซลลูโลสเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์พืช ไม้ประกอบด้วยเซลลูโลสประมาณ50%และฝ้าย (Cotton) ก็คือ เซลลูโลสบริสุทธิ์
พอลิแซ็กคาไรด์โครงสร้างชนิดอื่นในพืช คือ เพกติน (Pectin) และเฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) เพกตินประกอบด้วยน้ำตาลอะราบิโนส (Arabinose) กาแลกโทส และกรดกาแลกทิวโรนิก (Galacturonic acid) ส่วนเฮมิเซลลูโลสเป็นโฮโมพอลิเมอร์ของ D ไซแลน (Xylan) ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก มีโซ่ข้าง (Side chain) ของอะราบิโนสและน้ำตาลชนิดอื่น ๆ

ไคทิน (Chitin) เป็นโฮโมพอลิเมอร์ของ N อะซิติล D กลูโคซามีน (N acetyl D glucosamine) ที่เชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกล โคซิดิก เป็นพอลิแซ็กคาไรด์โครงสร้างในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ยังเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ (Cell wall) ของ fungi ส่วนใหญ่ และ algae หลายชนิด

ที่มา:http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem8/dream/10.html

ตอบข้อ: 1 ครับ ^^




คำอธิบายครับ^^


อินซูลิน (อังกฤษ: Insulin) มาจากภาษาละติน insula หรือ "island" - "เกาะ" เนื่องจากการถูกสร้างขึ้นบน "เกาะแลงเกอร์ฮานส์" ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ในตับอ่อน) คือฮอร์โมนชนิดอนาโบลิกโพลีเพบไทด์ ซึ่ทำหน้าที่ควบคุมการเผลาผลาญคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสารตัวกระทำในคาร์โบไฮเดรทชนิดโฮมีโอสตาซิส มีผลต่อการเผาผลาญไขมันเปลี่ยนการทำงานของตับให้ทำหน้าที่เก็บหรือปลดปล่อยกลูโคส และทำให้เกิดการทำงานของลิพิด (ไขมัน) ในเลือดและในเนื้อเยื่ออื่น เช่นไขมันและกล้ามเนื้อ ปริมาณของอินซูลินที่เวียนอยู่ในร่างกายมีผลกระทบสูงมากในวงกว้างในทุกส่วนของร่างกาย

ในวงการแพทย์ อินซูลินถูกใช้ในการรักษาโรคเบาหวานบาง ชนิด คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 1 ต้องอาศัยอินซูลินจากนอกร่างกาย (เกือบทั้งหมดใช้วิธีฉีดเข้าใต้ผิวหนัง) เพื่อช่วยให้รอดชีวีตจากการขาดฮอร์โมน คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 จะต่อต้านอินซูลิน หรือ ผลิตอินซูลินน้อย หรือทั้งสองอย่าง ผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 บางรายต้องการอินซูลินเฉพาะเมื่อยาอื่นที่ใช้รักษาอยู่ไม่เพียงพอในการควบ คุมระดับกลูโคสในเลือด

อินซูลิน ประกอบด้วยกรดอะมิโน 51 ชนิดรวมกันอยู่ และมีน้ำหนักโมเลกุล 5808 Da

โครงสร้างของอินซูลิน ผันแปรเล็กน้อยตามชนิดของสัตว์ อินซูลินที่มีแหล่งมาจากสัตว์จะแตกต่างกันในเชิงขีดความสามารถในการควบคุม พลังการทำงาน (เช่น การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท) ในมนุษย์ อินซูลินจากสุกรมีความคล้ายคลึงกับอินซูลินของมนุษย์มากที่สุด

ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99


ตอบข้อ: 2 ครับ^^


มาลองฝึกทำกันดูนะค้า บ !!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น